หลายๆคนคงจะคุ้นตากับภาพของสะพานไม้ที่โอบล้อมด้วยป่าโกงกางทอดยาวลงไปในทะเล
ไม่น่าเชื่อนะครับว่านี้คือผลพลอยได้จากการทำแหล่งบำบัดน้ำเสีย..ใช่ครับแหล่งบำบัดน้ำเสีย
"โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมพักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ"
เกิดขึ้นจากพระมหากรุณาธิคุณแห่งพ่อหลวงรัชกาลที่ 9
ที่ทรงศึกษาค้นคว้าหาเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาน้ำเสีย
และขยะของชุมชนให้เหมาะกับกับสภาพพื้นที่ จนเกิดเป็นโครงการนี้ขึ้น
ที่ทรงศึกษาค้นคว้าหาเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาน้ำเสีย
และขยะของชุมชนให้เหมาะกับกับสภาพพื้นที่ จนเกิดเป็นโครงการนี้ขึ้น
และผลที่ได้กลับมานั้นมากเกินกว่า บ่อบำบัดน้ำเสียอีกครับ
เพราะเราได้ทั้งปุ๋ย ได้ทั้งปลา ได้ทั้งข้าว และได้ธรรมชาติกลับคืนมา
เอ้อ!!! การเดินทางของผมในครั้งนี้ เรามาในโครงการ "ความสุขของพ่อ"
กับพี่ๆทีมงาน COMPACT BRAKES
ภายในโครงการมีเนื้อที่ถึง 1100 ไร่
แต่มีตึกอยู่เพียงไม่กี่ตึกที่เหลือเป็นพื้นที่ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำเสียด้วยหลักการทางธรรมชาติ
นี่คือ 1 ในตึกเหล่านั้นที่เอาไว้ตอนรับผู้เข้าชมครับ
แต่มีตึกอยู่เพียงไม่กี่ตึกที่เหลือเป็นพื้นที่ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำเสียด้วยหลักการทางธรรมชาติ
นี่คือ 1 ในตึกเหล่านั้นที่เอาไว้ตอนรับผู้เข้าชมครับ
ด้านหน้าตึกมีทุ่งข้าวเล็กๆอยู่ แต่ก็ไม่ใช่ทุ่งข้าวธรรมดาๆนะ
เป็นทุ่งข้าวสาธิตที่แสดงถึงการบำบัดน้ำเสียขนาดเล็ก
ใต้ตึกมีจุดเช็คอินเล็กๆให้ถ่ายรูป
ภายในตึกก็จะมีภาพแสดงถึงพระมหากรุณาธิคุณของพ่อหลวงรัชกาลที่ 9
และมีการแนะนำสถานที่ว่า แหลมผักเบี้ย นั้น
เป็นสถานที่ทำการศึกษาวิจัยการกำจัดขยะแบบประหยัด และการบำบัดน้ำเสีย
โดยวิธีธรรมชาติก่อนปล่อยลงสู่ทะเล
เป็นสถานที่ทำการศึกษาวิจัยการกำจัดขยะแบบประหยัด และการบำบัดน้ำเสีย
โดยวิธีธรรมชาติก่อนปล่อยลงสู่ทะเล
จากนั้นเราจะนั่งรถไปชมของจริงกัน
ระบบบำบัดน้ำเสียโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อม แหลมผักเบี้ย มี 4 ระบบ คือ
ระบบแรก คือ บ่อบำบัดน้ำเสีย เวลาที่มีน้ำเสียไหลมารวมกันรอมันตกตะกอน
แล้วน้ำแต่ละบ่อก็จะไหลล้นผ่านกำแพงระบายน้ำด้านบน
ที่เชื่อมต่อกันทางตอนล่างของ บ่อถัดไปเป็นลำดับ
ก่อนที่จะนำคืนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ
ซึ่งตะกอนที่ได้จากกระบวนการนี้น้ำไปใช้ในการเกษตรได้ดีมาก
แล้วน้ำแต่ละบ่อก็จะไหลล้นผ่านกำแพงระบายน้ำด้านบน
ที่เชื่อมต่อกันทางตอนล่างของ บ่อถัดไปเป็นลำดับ
ก่อนที่จะนำคืนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ
ซึ่งตะกอนที่ได้จากกระบวนการนี้น้ำไปใช้ในการเกษตรได้ดีมาก
ระบบที่สอง คือ ระบบพืชและหญ้ากรองน้ำเสีย ที่ใช้ หญ้าธูปฤาษี
ที่ปล่อยออกซิเจนจากรากลงไปเติมน้ำให้กลายเป็นน้ำดีได้
และเมื่อครบ 90 วัน ก็สามารถตัดหญ้าออกแล้วนำไปให้กลุ่มแม่บ้าน
ทำเครื่องสานเพื่อเพิ่มประโยชน์และสามารถสร้างรายได้ให้กับกลุ่มแม่บ้านได้
ที่ปล่อยออกซิเจนจากรากลงไปเติมน้ำให้กลายเป็นน้ำดีได้
และเมื่อครบ 90 วัน ก็สามารถตัดหญ้าออกแล้วนำไปให้กลุ่มแม่บ้าน
ทำเครื่องสานเพื่อเพิ่มประโยชน์และสามารถสร้างรายได้ให้กับกลุ่มแม่บ้านได้
ระบบที่สาม คือ ระบบพื้นที่ชุ่มน้ำเทียม ระบบทำให้มีฝูงนกต่างๆมาอยู่ในบริเวณโครงการเป็นจำนวนมาก จนทำให้ที่ แหลมผักเบี้ย กลายเป็นแหล่งดูนกอีกแห่งนึง
ระบบที่สี่ คือ ระบบแปลงพืชป่าชายเลน
โดยการให้ธรรมชาติบำบัดด้วยตัวของมันเองตามระยะเวลาการขึ้นลงของน้ำทะเลในแต่ละวัน
อาศัยระบบรากของพืชป่าชายเลนช่วยปล่อยก๊าซออกซิเจนเติมให้กับน้ำเสียและจุลินทรีย์ในดิน
และภายในระบบนี้เราก็สามารถเดินดูป่าชายเลย ความอุดมสมบูรณ์ของป่า
รวมถึงสะพานไม้อันเป็นเอกลักษณ์ของที่แห่งนี้
รวมถึงสะพานไม้อันเป็นเอกลักษณ์ของที่แห่งนี้
และก็ทำให้ตรงนี้เป็ยนจุดถ่ายรูปที่สวยมากที่จุดนึง
จุดสุดท้ายก็แวะซื้อของฝากจากโครงการกันซะหน่อย
ใครที่อยากมาเที่ยว มารับความรู้ หรือจะมาถ่ายรูปเช็คอิน สามารถมาได้ที่
โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อม แหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
โทรศัพท์ 0 3244 1264-5 หรือ ที่นี่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
หากต้องการที่จะเข้ามาชมป่าชายเลน สามารถแจ้งที่หน้าประตูทางเข้า
จากนั้นลงชื่อและขับรถเข้าไปชมตามจุด ต่างๆ ได้เลย
หากไม่มีรถส่วนตัวจะมีรถรางนำชมยังจุดต่างๆ แต่ต้องรอให้ผู้โดยสารเต็มจึงจะออกรถ
หรือหากมาเป็นหมู่คณะ สามารถติดต่อแจ้งล่วงหน้าได้
การเดินทาง จากกทม.ใช้เส้นพระราม 2-สมุทรสงคราม กม. 72 เลี้ยวซ้ายเข้าคลองโคน ใช้เส้นทางคลองโคลน บางตะบูน-บ้านแหลม-หาดเจ้าสำราญ-ชะอำ โครงการพระราชดำริ แหลมผักเบี้ยอยู่ระหว่างเส้นทางเลียบชายทะเลจากหาดเจ้าสำราญไปยังอำเภอบ้านแหลม ทางเข้าอยู่ข้างวัดสมุทรโคดม